โรคปวดคอเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทำงานทั่วไป โดยส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยทางกายภาพและพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง โรคนี้อาจมีเกิดอาการปวดเรื้อรังหรือเกิดขึ้นเฉพาะบางครั้ง โดยที่คนทั่วไปมักจะจดจ่อกับการทำงานมากเกินไปจนส่งผลเสียกับท่าทางระหว่างทำงาน ทำให้เกิดเป็นปัญหาที่คิดว่ามันจะหายไปเอง แต่ในทางตรงกันข้ามบางครั้งอาจจะส่งผลระยะยาว ทำให้เป็นโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อมก่อนวัยอันควร จนเกิดอาการชาตามแขนหรือปลายมือได้ สนใจ กายภาพบําบัด ออฟฟิศซินโดรม กับทาง รัชตกายา คลินิกกายภาพบำบัด
สาเหตุของโรคปวดคอ
การทำงานและการนั่งหรือยืนในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง
การทำงานหนักของข้อไหล่หรือการทำงานที่ใช้แขนเยอะ ๆ
การทำงานเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เช่นงานคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์
ความเครียด
การใช้โทรศัพท์มือถือนาน ๆ
คอยื่นไปข้างหน้า หลังค่อม
หมอนไม่รองรับสรีระของคอ ทำให้คออยู่ในท่าที่ผิดปกติ
การนอนในท่าทางไม่ถูกต้อง
วิธีการรักษาโรคปวดคอการทำกายภาพบำบัด
การรักษาโดยเครื่องมือทางกายภาพบําบัด ออฟฟิศซินโดรม :
เครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound) :กระตุ้นเลือดให้มาเลี้ยงบริเวณที่มีจุดกดเจ็บ และตึงตัวมากเกินไป ทำให้เลือดกลับมาเลี้ยงบริเวณที่ปวดมากขึ้น เป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อคลายตัว คนไข้จึงรู้สึกโล่งขึ้น
เครื่อง ES (electrical stimulator) :เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะเข้าไปกระตุ้นเส้นใยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทขนาดใหญ่และไปยับยั้งการส่งกระแสประสาทความเจ็บปวด จากเส้นประสาทขนาดเล็กไม่ให้ส่งกระแสประสาทจากบริเวณที่เจ็บปวดไปสู่สมอง และ กระแสไฟฟ้าจะกระตุ้นเส้นใยประสาทที่รับความเจ็บปวดให้หลั่งสาร เอ็นเคฟาลีน (enkephalin) ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายมอร์ฟีน ที่ช่วยลดการเจ็บปวดนอกจากนี้ยังกระตุ้นสารลดความเจ็บปวด เอ็นโดฟิน (endorphin) จึงสามารถลดปวดได้ จากการลดสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณปวดและกระตุ้นการลดปวดในกล้ามเนื้อ
เครื่อง Shock wave (คลื่นกระแทก) :กระตุ้นการบาดเจ็บเพื่อสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ทำให้ลดอาการปวด โดยวิธีการลดสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณปวดและกระตุ้นการลดปวดในกล้ามเนื้อ (re-injury) จึงจะเห็นผลหลังการรักษาทันที
การออกกำลังกาย กายภาพบําบัด ออฟฟิศซินโดรม แบบยืดกล้ามเนื้อ เพื่อลดการเกร็งค้างของกล้ามเนื้อ
ยืดกล้ามเนื้อคอด้านหลัง :ใช้มือสองข้างประสานบริเวณท้ายทอย ก้มคอลงจนรู้สึกตึงบริเวณต้นนคอ แต่ไม่มีอาการเจ็บ ยืดค้างไว้ 30 วินาที ทำทั้งหมด 3 ครั้ง/1 รอบ ทำทั้งหมด 3 รอบ
ยืดกล้ามเนื้อคอด้านหน้า :ใช้มือสองข้างกดบริเวณไหปลาร้า เงยงอจนรู้สึกตึงบริเวณด้านหน้าจนรู้สึกตึงบริเวณต้นคอ แต่ไม่มีอาการเจ็บ ยืดค้างไว้ 30 วินาที ทำทั้งหมด 3 ครั้ง/1 รอบ ทำทั้งหมด 3 รอบ
ยืดกล้ามเนื้อคอด้านข้าง :ใช้มือ 1 ข้าง เหนี่ยวเก้าอี้หรือนั่งทับ เอียงคอไปทางด้านที่ต้องการยืด เมื่อรู้สึกตึงให้ก้มคอลงเล็กน้องจนรู้สึกตึงมากขึ้น แต่ไม่มีอาการเจ็บ ยืดค้างไว้ 30 วินาที ทำทั้งหมด 3 ครั้ง/1 รอบ ทำทั้งหมด 3 รอบ/1 ข้าง
การออกกำลังกาย กายภาพบําบัดเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อคอด้านหน้า :ใช้มือออกแรงต้านบริเวณหน้าผาก ก้มคอออกและออกแรงดันที่มือเพื่อให้แรงต้าน ทำ 10 วินาที/รอบ ทำทั้งหมด 3 รอบ
กล้ามเนื้อคอด้านหลัง :ใช้มือออกแรงต้านบริเวณท้ายทอย เก็บคางและออกแรงดันที่มือเพื่อให้แรงต้าน ทำ 10 วินาที/รอบ ทำทั้งหมด 3 รอบ
กล้ามเนื้อคอด้านข้าง :ใช้มือออกแรงต้านบริเวณเหนือหู เอียงคอไปด้านข้างและออกแรงดันที่มือเพื่อให้แรงต้าน ทำ 10 วินาที/รอบ ทำทั้งหมด 3 รอบ การปรับตำแหน่งของคอ : เนื่องจากอยู่ในท่าผิดปกติมานาน จึงต้องมีการปรับตำแหน่งคอ (re-positioning) ให้คอกลับไปอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เพื่อลดปัญหาคอยื่น และหลังค่อมที่จะเกิดขึ้น โดยการเก็บคาง ถ้ารู้สึกว่าจะล้มให้เปลี่ยนเป็นยืนชิดผนัง ดันคอให้ชิดผนังให้มากที่สุด ในส่วนนี้จะต้องทำตลอดเวลาที่รู้สึก
ตัวการดึงคอ :หากมีอาการคอเสื่อมหรือมีปัญหาชาบริเวณแขนหรือปลายมือ การดึงคอจะช่วยให้เกิดช่องว่างระหว่างโพรงประสาทบริเวณคอ ทำให้ลดอาการชาและกล้ามเนื้อตึง
ติดต่อจองคิวนัดหมายคลินิกกายภาพบำบัดได้ที่
Website : https://www.rachatagaya.com
Line@ : Rachatagaya Clinic
Tel : 092-862-6988